วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

Victorian Style





สมัยวิกตอเรีย หรือ ยุควิกตอเรีย 

 ของสหราชอาณาจักรเป็นจุดสูงสุดของการปฏิวัติอุตสาหกรรมและเป็นยุคสูงสุดของจักรวรรดิอังกฤษซึ่งตรงกับสมัยการปกครองของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียระหว่างปี ค.ศ. 1837 ถึงปี ค.ศ. 1901 

นักวิชาการถกเถียงกันว่าสมัยวิกตอเรียควรจะเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1832 สมัยวิกตอเรียเริ่มต่อจาก “สมัยรีเจ็นซี” (Regency era) และตามด้วย “สมัยเอ็ดเวิร์ด” ระยะหลังของสมัย “สมัยวิกตอเรีย” ตรงกับสมัย “Belle Époque” บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปและของประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ



สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย 
ค.ศ. 1837–ค.ศ. 1901

  
   
ยุคสมัยในประวัติศาสตร์อังกฤษ
สมัยทิวดอร์ (ค.ศ. 1485–1603)
สมัยเอลิซาเบธ (ค.ศ. 1558–1603)
สมัยสจวต (ค.ศ. 1603–1714)
สมัยจาโคเบียน (ค.ศ. 1603 – 1625)
สมัยคาโรไลน์ (ค.ศ. 1625—1642)
สมัยจอร์เจียน (ค.ศ. 1714–1830)
สมัยรีเจ็นซี (ค.ศ. 1811–1820)
สมัยวิกตอเรีย (ค.ศ. 1837—1901)
สมัยเอ็ดเวิร์ด (ค.ศ. 1901–1910)



ศิลปะวิคตอเรีย (Victorian)  


 ซึ่งจะเน้นลวดลายธรรมชาติของดอกไม้ใบไม้คล้ายๆกับ Art Nouveauแต่ Victorian 
จะยึดถือรายละเอียดในธรรมชาติมากกว่ามีการคลี่คลายแบบและลวดลายน้อยกว่า ของ Art Nouveau 

ยังนิยมนำไปประยุกต์ในการตกแต่ง สร้างบ้านที่เป็นแบบยุโรป

นอกจากนี้ลวดลายก็จะมีการเน้นไปทางผู้หญิงและแต่การแต่งกายในแถบ

ยุโรปสมัยก่อนที่เป็นชุดกระโปรงยาวจีบ สวมหมวก รองเท้าบูทสูง เป็นต้น








รูปแบบนี้สะท้อนให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมและศิลปะแบบอังกฤษผสมกับแบบฝรั่งเศส
โดยตั้งชื่อ Style ในภายหลังเพื่อยกย่องกษัตริย์ผู้ครองราชย์ในขณะนั้น

สถาปัตยกรรมวิคตอเรีย


             สถาปัตยกรรมยุควิคตอเรียน เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงกลางจนถึงปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งจะตรงกับช่วงรัชสมัยของพระนางเจ้าวิคตอเรีย แห่งอังกฤษ 

             รูปแบบของสไตล์ที่เกิดขึ้นคือการย้อนกลับไปหาความงามในอดีต เช่น ยุค กอธิค โรมาเนสก์ คลาสสิก บาโรค และร็อคโคโค


              เนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงต้นศตวรรษ ทำให้เกิดการพัฒนาวัสดุในการก่อสร้าง การผลิตด้วยช่างฝีมือถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรเพื่อตอบสนองความต้องการของคนจำนวนมาก
แปลนของอาคารก็มีการเปลี่ยนแปลงจากการเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม มาเป็นแบบอสมมาตร และภายนอกอาคารที่ซับซ้อนขึ้น สีสันสดใส รูปทรงโค้งงอ


Queen Anne Victorian House

                อังกฤษเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรมในงานจัดแสดงงานครั้งยิ่งใหญ่ทั่วโลกในปี ค.ศ.1851 โดยอาคารที่ก่อสร้างขึ้นมาคือ ครัสตัลพาเลซ ออกแบบโดย SIR JOSEPH PAXTON มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในจัดแสดงงานและแสดงศักยภาพทางเทคโนโลยี การออกแบบและก่อสร้างของอังกฤษ



Crystal Palace transept at Great Exhibition of 1851

                  ช่วงเวลาของการพัฒนาบ้านแบบนี้ขึ้นมา ขึ้นอยู่ในยุควิคตอเรียน(Victorian era , 1837 - 1901) ซึ่งเป็นยุคที่ประเทศอังกฤษปกครองโดยราชินีวิคตอเรีย(Queen Victoria) โดยในยุคนี้ประเทศอังกฤษค่อนข้างสงบสุข มีการขยายอาณานิคมออกไปกว้างขวางและมั่นคง จึงส่งผลทำให้สภาพเศรษฐกิจที่ดี 
                 การผลิตเริ่มเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการอพยพเข้าเมืองมาก จึงทำให้เกิดชนชั้นกลางที่มีฐานะดีขึ้นและต้องการบ้านอยู่อาศัยในเมืองประกอบกับภาษีด้านวัสดุก่อสร้างประเภทอิฐและกระจกลดลง ทำให้ราคาวัสดุเหล่านี้ถูกลงและมีมาตรฐานทางอุตสาหากรรม จึงทำให้บ้านยุคนี้ใช้วัสดุอิฐก่อมาก

บ้านสไตล์วิกตอเรียได้รับอิทธิพลจากรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีมาก่อนหน้านี้ เช่น สไตล์อิตาเลียน(Italianate Style) สไตล์โกธิค(Gothic) นิยมสร้างเป็นแบบเทอเรซเฮาส์(Terrace House) หรือบ้านเราเรียนทาวน์เฮาส์และบ้านเดี่ยว 


Queen Anne Victorian mansion at 143 M Street in Eureka, Northern California.


                ลักษณะงานออกแบบในยุควิตอเรียนที่นิยมมากที่สุดคือ ลักษณะการฟื้นฟูการออกแบบแบบกรีก ซึ่งเห็นได้ในอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ ซึ่งถ้ามองอย่างต่อเนื่องยังได้รับอิทธิพลมาจากยุคบาโรคมากกว่า
สถาปัตยกรรมจะเป็นแบบแต่งองค์ทรงเครื่องเยอะๆ  ในตอนต้นของยุควิตอเรียนการออกแบบยังเป็นไปในรูปแบบเรียบง่ายแต่ภายหลังจากการเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในประเทศ สถาปัตยกรรมก็มีรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้น

Classic Cabbagetown Victorian (Ontario, Canada)

บ้านแบบวิกตอเรียอาจะประกอบด้วยองค์ประกอบรายละเอียดจากหลายสไตส์ หลายยุค นำมาดัดแปลงที่เป็นที่นิยมในสมัยนั้นมากว่า “Eclecticism” คือ การเลือกใช้แบบผสมผสานให้เกิดความกลมกลืน


Queen Anne Victorian House


              โดยอาจทำเป็นสองถึงสามชั้น มีการตกแต่งภายนอกมากให้ดูหรูหรา มีมุขหน้าประตูทางเข้าซึ่งบางหลังทำเป็นรูปโค้ง อาจทำเป็นเฉลียงรอบ ห้องภายในบ้านที่มีลักษณะพิเศษ เช่น ห้องแปดเหลี่ยม หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา หน้าต่างที่นิยมใช้เป็นบานกระจกแบบเลื่อนขึ้นบน(Sash Windows) และค่อนข้างมีขนาดใหญ่ โดยการตกแต่งสวยงามแปลกตา





บรรยากาศการตกแต่งภายในบ้านแบบวิกตอเรียจะเน้นไปในทางความรัก ความอบอุ่น ความโรแมนติก ในบ้าน เริ่มตั้งแต่ประตูทางเข้าจะทำให้เด่นด้วยการใช้กระจกสี สเตนกลาส” ประดับตกแต่งลวดลายดอกไม้ หรือใช้กระจกเจียระไนแต่ละชิ้นประดับเป็นลวดลายงดงาม






ห้องอาหารหรือห้องรับประทานอาหาร นิยมเล่นลวดลายมาก ประดับด้วยโคมไฟระย้า



ห้องนอน ผนังห้องนอนตกแต่งด้วยกระดาษติดผนัง มีบอร์เดอร์คาดโดยรอบเป็นลายใบไม้เน้นฝ้าเพดานห้อง ด้านล่างผนังแต่งด้วยกระดาษติดผนังลวดลายต่างจากผนังท่อนบนมักเป็นลายพวกดอกไม้ ริบบิ้น รูปวิว บัวเพดาน และผนังห้องใช้กระดาษปิดผนังสีสด เล่นลวดลายต่างๆกัน ตรงกลางฝ้าติดแป้นไม้แกะสลัก สำหรับห้อยไฟระย้า 






ประตูทางเข้าโอ่โถง ประดับประดาด้วยกระจกสีเป็นรูปเรขาคณิต

ในตอนต้นยุคสีสันในห้องโดยเฉพาะบริเวณห้องโถงต่อจากทางเข้าจะเป็นสีค่อนข้างหม่น เช่น เทา น้ำเงิน น้ำตาลอมเหลือง สีไม้โอ๊ก หรือแดงเข้ม 

Eclectic Mediterranean Victorian Interior Design Foyer w Stairway.


ต่อมาใช้สีสดมากขึ้น เช่น เทอร์ควอยส์ ม่วงแดง ส้มอ่อน เขียวบรอนซ์ เขียวมะกอก เหลือง ฟ้าหม่น และสีทอง



ภายในห้องนิยมทำเพดานสูง 3-4 ม. ทำให้ดูสูงโปร่งฝ้าเพดานประดับประดาด้วยปูนปั้นแกะสลักดอกไม้ หรือภาพวาดแบบเฟรสโก้ บางทีก็แต่งปิดทับด้วยกระดาษและแผ่นดีบุกอัดลายและติดไฟระย้า

นอกจากนี้ยังนิยมติดกระดาษปิดผนังชนิดที่ติดเป็นขอบโดยรอบ(Borders)  การใช้สีทาผนัง การวาดลวดลายและการใช้วิธีทำสเตนซิลก็เป็นที่นิยมเช่นกัน


พื้น มักจะใช้พรมปูตลอดทั้งห้องทับไปบนพื้นไม้ ซึ่งถ้าไม่ใช้พรมก็นิยมวาดรูปลงบนพื้นหรือไม่ก็ทำลวดลายแบบสเตนซิล และมีการคิดค้นแผ่นลิโนเลียมคล้ายกระเบื้องยางในปัจจุบันมีลวดลายเป็นรูปทรงเรขาคณิต
มีการใช้เสื่อทอจากพืชสำหรับปูที่เฉลียง มีการใช้กระเบื้องเป็นวัสดุที่พื้นบริเวณทางเข้าบ้านในพื้นห้องครัวและห้อง



อาคาร Victorian Style ในประเทศไทย

อาคาร Victorian Style ในประเทศไทย

พระที่นั่งวิมานเมฆ



ประวัติการกำเนิดพระที่นั่งวิมานเมฆ

           ในปี พ.ศ. 2440 สมัยที่ รัชกาลที่5 ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับมาจากประพาสทวีปยุโรปครั้งที่ 1 ได้ทรงมีพระราชดำริว่า กษัตริย์ยุโรปมีพระราชวังทั้งในและนอกพระนครอย่างละแห่ง ประกอบกับพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพค่อนข้างแออัด ลมพัดไม่สะดวก จึงทรงโปรดให้สร้างวังแห่งใหม่ขึ้นที่ชานพระนคร ทรงนึกถึงเกาะสีชังขึ้นมา
เนื่องจากในสมัย รัชกาลที่4 ครองราชย์ ครั้งหนึ่งได้เคยตามเสด็จไปประพาสชายฝั่งตะวันออก เพื่อทอดพระเนตรวิถีชีวิตของผู้คนในแถบนั้น ท่านทรงได้ประทับเรือกลไฟพระที่นั่งไปถึง ชลบุรี, ระยอง และพักที่เกาะสีชังโดยได้ประทับค้างคืนบนเรือพระที่นั่ง ด้วยความที่มีทัศนียภาพงดงาม ลมทะเลโกรกเย็นสบาย แต่มิได้เคยไปประทับอีกเลยจวบจนสิ้น รัชกาลที่4 ทำให้ รัชกาลที่5 รำลึกถึงที่นี่ และได้สร้างพระราชวังขึ้น ขณะนั้นสมเด็จพระพันปีหลวง พระมเหสีได้ประสูติสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก พระราชโอรส (ต่อมาได้ขึ้นเป็น กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย)







            ดังนั้นพระราชวังที่สร้างขึ้นนี้ รัชกาลที่5 จึงทรงพระราชทานชื่อว่า “จุฑาธุชราชฐาน” ในการนี้ได้สร้างอาคาร, พระที่นั่ง, ตำหนัก ประกอบกันหลายหลัง ส่วนพระที่นั่งที่ประทับนั้น ชื่อว่า มันธาตุรัตนโรจน์ ขณะที่กำลังดำเนินการก่อสร้างช่วงนั้น ทางกรุงเทพได้เกิดวิกฤตการณ์ รศ.112 ไทยเกิดข้อพิพาทกับฝรั่งเศสทางชายแดนอีสาน มีการรบกันทหารไทยทำให้ทหารฝรั่งเศสบาดเจ็บและล้มตายไปหลายนาย ฝรั่งเศสจึงส่งเรือปืน 3 ลำมาปิดปากอ่าวไทย ยิงกันที่ป้อมพระจุลจอมเหล้าทำให้เรือรบฝรั่งเศสเสียหาย ทางฝรั่งเศสต้องการให้ไทยชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 3 ล้านบาท ซึ่งในสมัย รัชกาลที่3 นั้นท่านทรงมีเงินเก็บไว้บางส่วนจากการค้าขายกับเรือสำเภาจีน โดยเก็บไว้ในถุงแดง และท่านได้รับสั่งไว้ก่อนสวรรคตว่า เงินจำนวนนี้เอาไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง รัชกาลที่5 ท่านจึงได้ทรงนำเงินจำนวนนี้มาใช้ นอกจากเงินแล้ว ไทยยังต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง (ลาวทั้งหมด) ให้กับฝรั่งเศสด้วย

           รัชกาลที่ 5 ทรงโทมนัสมาก ทรงประชวรนานหลายเดือน ท่านทรงเห็นว่า พระที่นั่งจุฑาธุชราชฐานที่เกาะสีชังคงไม่เหมาะจะไปประทับแล้ว เพราะอยู่ไกลจากเมืองหลวง หากมีเหตุคับขันจะไม่สะดวกในการกลับมา ท่านจึงให้ระงับการก่อสร้างซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2436 เสีย ต่อมาในปี 2440 หลังกลับจากยุโรป จึงทรงใช้ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ ซื้อที่นาบริเวณทุ่งสามเสนและโปรดให้สร้างวังขึ้น เรียกว่า วังดุสิต ต่อมาเปลี่ยนเป็น วังสวนดุสิต และเป็น พระราชวังสวนดุสิต ในที่สุด ทรงเห็นว่า พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ ที่ทรงสร้างค้างไว้นั้นยังดีอยู่ จึงทรงสั่งให้รื้อมาสร้างที่นี่แทน โดยพระราชทานชื่อใหม่ว่า พระที่นั่งวิมานเมฆ โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ เป็นแม่กองในการรื้อและออกแบบสร้างพระราชวังสวนดุสิตด้วย 







          พระที่นั่งนี้ เป็นรูปตัว L หลังคาสีแดง สูง 3 ชั้น ด้านตะวันตกเป็นหอ 8 เหลี่ยมสูง 4 ชั้น ชั้นที่ 4 มีห้องบรรทมของ รัชกาลที่5 รูปแบบสถาปัตยกรรมอาคารเป็นแบบอังกฤษ Victorian Style แต่ใช้วัสดุของไทย คือไม้สักทอง ดังนั้น พระที่นั่งนี้ จึงเป็นพระที่นั่งไม้สักทองทั้งหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้เวลาในการก่อสร้าง 19 เดือน รัชกาลที่5 ทรงเสด็จมาควบคุมการก่อสร้างทุกวัน โดยทรงหัดขี่จักรยานในพระบรมมหาราชวังก่อน จนคล่องท่านจึงได้ขี่นำขบวนจากพระบรมมหาราชวัง มาตามถนนราชดำเนิน เพื่อมาดูการก่อสร้างทุกวันตลอด 19 เดือน บางครั้งก็ทรงนำพระราชกิจมาทรงที่นี่ด้วย และบางครั้งก็ค้างคืนที่นี่เช่นกัน 






                   พิพิธภัณฑ์พระที่นั่งวิมานเมฆ ตั้งอยู่บริเวณหลังพระที่นั่งอนันตสมาคม ในเขตพระราชวังดุสิต เป็นพระที่นั่งที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง พระที่นั่งหลังเดิมสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่บนเกาะสีชัง ต่อมาได้ชะลอมาไว้ ณ สถานที่ตั้งปัจจุบัน เมื่อปีพ.ศ. 2444 


                     พระที่นั่งวิมานเมฆสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง  การก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) เป็นอาคารแบบสมัย Victorian ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมยุโรป ผสมกับไทยประยุกต์ 




                        องค์พระที่นั่งเป็นรูปอักษรตัวแอล (L)  ยาวด้านละ 60 เมตร สูง 20 เมตร เป็นอาคาร 3 ชั้น ยกเว้นตรงส่วนที่ประทับซึ่งมีรูปร่างเป็นแปดเหลี่ยม มี 4 ชั้น 



                      ชั้นล่างสุดก่ออิฐ ถือปูน ชั้นถัดขึ้นไปสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหมดทาด้วยสีครีมอ่อนหลังคาสีแดง 


               หลังคาเป็นทรงไทยประยุกต์ มีลวดลายตามหน้าต่าง และช่องลมซึ่งฉลุเป็นลายที่เรียกว่า ลายขนมปังขิง 


                  พิพิธภัณฑ์พระที่นั่งวิมานเมฆ ประกอบด้วยห้องต่าง ๆ 81 ห้อง มีคลองล้อมรอบตัวอาคาร อาทิ คลองคาบแผ่นกระจก คลองรางเงิน  อ่างหยก 



                   ภายในบริเวณมีต้นไม้มากมายให้บรรยากาศร่มรื่น มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่งดงามประณีตและได้รับอิทธิพลการก่อสร้างแบบตะวันตก องค์พระที่นั่งเป็นรูปอักษรตัวแอลในภาษาอังกฤษ 

                        การจัดแสดงบางห้องยังคงลักษณะบรรยากาศในอดีตไว้ เช่น หมู่ห้องพระบรรทม ท้องพระโรงและห้องสรง เป็นต้น บางห้องจัดแสดงศิลปวัตถุแยกตามประเภทเช่น ห้องจัดแสดงเครื่องเงิน ห้องจัดแสดงเครื่องกระเบื้องลายคราม ห้องจัดแสดงเครื่องแก้วเจียระไน และห้องจัดแสดงเครื่องงา เป็นต้น








                    สำหรับพระที่นั่งวิมานเมฆนี้จะแบ่งเป็นห้องชุดต่างๆ 5 สีด้วยกัน คือสีฟ้า เขียว ชมพู งาช้าง และสีลูกพีช (ชมพูอมส้ม) แต่ละห้องจะจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 5 รวมถึงเจ้านายชั้นสูง เช่น ห้องสีเขียว เป็นห้องเครื่องเงินจากประเทศจีน ส่วนชั้นสองเป็นห้องทรงงานของรัชกาลที่ 5 และห้องบนชั้นสามจะเป็นห้องบรรทม แต่ห้องที่งดงามที่สุดในพระที่นั่งวิมานเมฆเห็นจะเป็นห้องท้องพระโรง ที่มีบรรยากาศขรึมขลังอลังการมากที่สุด





                     ต่อมาพระที่นั่งวิมานเมฆได้ถูกปิดตายช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ พ.ศ. 2475 – 2525 เป็นเวลา 50 ปีเต็ม
                      สมด็จพระนางจ้าสิริกิต์พระบรมราชินินาถ ทรงขอพระราชทานการซ่อมแซมพระที่นั่งนี้จาก ร.9 และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ของ ร. 5 ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั่วไปเข้าชมได้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 เป็นต้นมา


รายละเอียดการเข้าชม

ถนนราชวิถี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักชัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 09.30–16.00 น. 
อัตราค่าเข้าชมพระที่นั่งวิมานเมฆ 
คนไทย ผู้ใหญ่ 75 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างประเทศ 100 บาท 
หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้า 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2628 6300-9 
website:www.vimanmek.com 

แหล่งอ้างอิง

http://en.wikipedia.org/wiki/Victorian_architecture
http://www.thummada.com/cgi-bin/iB315/ikonboard.pl?act=ST;f=5;t=2137;st=80
http://deedeethailand.blogspot.com/2013/01/blog-post_9102.html
http://www.buildinghistory.org/style/victorian.shtml
http://thai.tourismthailand.org