สมัยวิกตอเรีย หรือ ยุควิกตอเรีย
ของสหราชอาณาจักรเป็นจุดสูงสุดของการปฏิวัติอุตสาหกรรมและเป็นยุคสูงสุดของจักรวรรดิอังกฤษซึ่งตรงกับสมัยการปกครองของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียระหว่างปี ค.ศ. 1837 ถึงปี ค.ศ. 1901
นักวิชาการถกเถียงกันว่าสมัยวิกตอเรียควรจะเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1832 สมัยวิกตอเรียเริ่มต่อจาก “สมัยรีเจ็นซี” (Regency era) และตามด้วย “สมัยเอ็ดเวิร์ด” ระยะหลังของสมัย “สมัยวิกตอเรีย” ตรงกับสมัย “Belle Époque” บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปและของประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
ค.ศ. 1837–ค.ศ. 1901
สมัยทิวดอร์ | (ค.ศ. 1485–1603) |
---|---|
สมัยเอลิซาเบธ | (ค.ศ. 1558–1603) |
สมัยสจวต | (ค.ศ. 1603–1714) |
สมัยจาโคเบียน | (ค.ศ. 1603 – 1625) |
สมัยคาโรไลน์ | (ค.ศ. 1625—1642) |
สมัยจอร์เจียน | (ค.ศ. 1714–1830) |
สมัยรีเจ็นซี | (ค.ศ. 1811–1820) |
สมัยวิกตอเรีย | (ค.ศ. 1837—1901) |
สมัยเอ็ดเวิร์ด | (ค.ศ. 1901–1910) |
ศิลปะวิคตอเรีย (Victorian)
ซึ่งจะเน้นลวดลายธรรมชาติของดอกไม้ใบไม้คล้ายๆกับ Art Nouveauแต่ Victorian
จะยึดถือรายละเอียดในธรรมชาติมากกว่ามีการคลี่คลายแบบและลวดลายน้อยกว่า ของ Art Nouveau
ยังนิยมนำไปประยุกต์ในการตกแต่ง สร้างบ้านที่เป็นแบบยุโรป
นอกจากนี้ลวดลายก็จะมีการเน้นไปทางผู้หญิงและแต่การแต่งกายในแถบ
ยุโรปสมัยก่อนที่เป็นชุดกระโปรงยาวจีบ สวมหมวก รองเท้าบูทสูง เป็นต้น
รูปแบบนี้สะท้อนให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมและศิลปะแบบอังกฤษผสมกับแบบฝรั่งเศส
โดยตั้งชื่อ Style ในภายหลังเพื่อยกย่องกษัตริย์ผู้ครองราชย์ในขณะนั้น
สถาปัตยกรรมวิคตอเรีย
สถาปัตยกรรมยุควิคตอเรียน เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงกลางจนถึงปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งจะตรงกับช่วงรัชสมัยของพระนางเจ้าวิคตอเรีย แห่งอังกฤษ
รูปแบบของสไตล์ที่เกิดขึ้นคือการย้อนกลับไปหาความงามในอดีต เช่น ยุค กอธิค โรมาเนสก์ คลาสสิก บาโรค และร็อคโคโค
เนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงต้นศตวรรษ ทำให้เกิดการพัฒนาวัสดุในการก่อสร้าง การผลิตด้วยช่างฝีมือถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรเพื่อตอบสนองความต้องการของคนจำนวนมาก
แปลนของอาคารก็มีการเปลี่ยนแปลงจากการเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม มาเป็นแบบอสมมาตร และภายนอกอาคารที่ซับซ้อนขึ้น สีสันสดใส รูปทรงโค้งงอ
Queen Anne Victorian House
อังกฤษเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรมในงานจัดแสดงงานครั้งยิ่งใหญ่ทั่วโลกในปี ค.ศ.1851 โดยอาคารที่ก่อสร้างขึ้นมาคือ ครัสตัลพาเลซ ออกแบบโดย SIR JOSEPH PAXTON มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในจัดแสดงงานและแสดงศักยภาพทางเทคโนโลยี การออกแบบและก่อสร้างของอังกฤษ
Crystal Palace transept at Great Exhibition of 1851
การผลิตเริ่มเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการอพยพเข้าเมืองมาก จึงทำให้เกิดชนชั้นกลางที่มีฐานะดีขึ้นและต้องการบ้านอยู่อาศัยในเมืองประกอบกับภาษีด้านวัสดุก่อสร้างประเภทอิฐและกระจกลดลง ทำให้ราคาวัสดุเหล่านี้ถูกลงและมีมาตรฐานทางอุตสาหากรรม จึงทำให้บ้านยุคนี้ใช้วัสดุอิฐก่อมาก
Queen Anne Victorian mansion at 143 M Street in Eureka, Northern California.
ลักษณะงานออกแบบในยุควิตอเรียนที่นิยมมากที่สุดคือ ลักษณะการฟื้นฟูการออกแบบแบบกรีก ซึ่งเห็นได้ในอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ ซึ่งถ้ามองอย่างต่อเนื่องยังได้รับอิทธิพลมาจากยุคบาโรคมากกว่า
สถาปัตยกรรมจะเป็นแบบแต่งองค์ทรงเครื่องเยอะๆ ในตอนต้นของยุควิตอเรียนการออกแบบยังเป็นไปในรูปแบบเรียบง่ายแต่ภายหลังจากการเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในประเทศ สถาปัตยกรรมก็มีรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้น
Classic Cabbagetown Victorian (Ontario, Canada)
บ้านแบบวิกตอเรียอาจะประกอบด้วยองค์ประกอบรายละเอียดจากหลายสไตส์ หลายยุค นำมาดัดแปลงที่เป็นที่นิยมในสมัยนั้นมากว่า “Eclecticism” คือ การเลือกใช้แบบผสมผสานให้เกิดความกลมกลืน
Queen Anne Victorian House
บรรยากาศการตกแต่งภายในบ้านแบบวิกตอเรียจะเน้นไปในทางความรัก ความอบอุ่น ความโรแมนติก ในบ้าน เริ่มตั้งแต่ประตูทางเข้าจะทำให้เด่นด้วยการใช้กระจกสี “สเตนกลาส” ประดับตกแต่งลวดลายดอกไม้ หรือใช้กระจกเจียระไนแต่ละชิ้นประดับเป็นลวดลายงดงาม
ห้องอาหารหรือห้องรับประทานอาหาร นิยมเล่นลวดลายมาก ประดับด้วยโคมไฟระย้า
ห้องนอน ผนังห้องนอนตกแต่งด้วยกระดาษติดผนัง มีบอร์เดอร์คาดโดยรอบเป็นลายใบไม้เน้นฝ้าเพดานห้อง ด้านล่างผนังแต่งด้วยกระดาษติดผนังลวดลายต่างจากผนังท่อนบนมักเป็นลายพวกดอกไม้ ริบบิ้น รูปวิว บัวเพดาน และผนังห้องใช้กระดาษปิดผนังสีสด เล่นลวดลายต่างๆกัน ตรงกลางฝ้าติดแป้นไม้แกะสลัก สำหรับห้อยไฟระย้า
ประตูทางเข้าโอ่โถง ประดับประดาด้วยกระจกสีเป็นรูปเรขาคณิต
ในตอนต้นยุคสีสันในห้องโดยเฉพาะบริเวณห้องโถงต่อจากทางเข้าจะเป็นสีค่อนข้างหม่น เช่น เทา น้ำเงิน น้ำตาลอมเหลือง สีไม้โอ๊ก หรือแดงเข้ม
Eclectic Mediterranean Victorian Interior Design Foyer w Stairway.
ต่อมาใช้สีสดมากขึ้น เช่น เทอร์ควอยส์ ม่วงแดง ส้มอ่อน เขียวบรอนซ์ เขียวมะกอก เหลือง ฟ้าหม่น และสีทอง
ภายในห้องนิยมทำเพดานสูง 3-4 ม. ทำให้ดูสูงโปร่งฝ้าเพดานประดับประดาด้วยปูนปั้นแกะสลักดอกไม้ หรือภาพวาดแบบเฟรสโก้ บางทีก็แต่งปิดทับด้วยกระดาษและแผ่นดีบุกอัดลายและติดไฟระย้า
นอกจากนี้ยังนิยมติดกระดาษปิดผนังชนิดที่ติดเป็นขอบโดยรอบ(Borders) การใช้สีทาผนัง การวาดลวดลายและการใช้วิธีทำสเตนซิลก็เป็นที่นิยมเช่นกัน
พื้น มักจะใช้พรมปูตลอดทั้งห้องทับไปบนพื้นไม้ ซึ่งถ้าไม่ใช้พรมก็นิยมวาดรูปลงบนพื้นหรือไม่ก็ทำลวดลายแบบสเตนซิล และมีการคิดค้นแผ่นลิโนเลียมคล้ายกระเบื้องยางในปัจจุบันมีลวดลายเป็นรูปทรงเรขาคณิต
มีการใช้เสื่อทอจากพืชสำหรับปูที่เฉลียง มีการใช้กระเบื้องเป็นวัสดุที่พื้นบริเวณทางเข้าบ้านในพื้นห้องครัวและห้อง